
หากขับรถไม่มีพ.ร.บ.เสียสิทธิ์อะไรบ้างประกันจะคุ้มครองไหม
ขับรถที่ไม่มี พ.ร.บ. ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของรถหรือไม่ถือว่าผิดกฏหมาย และจะมีโทษ ปรับสูงสุด 10,000 บาท เมื่อไม่มี พ.ร.บ. ก็ทำให้ต่อภาษีรถไม่ได้ ซึ่งหากถูกจับเพราะป้ายวงกลมหมดอายุ ก็จะต้องเสียค่าปรับประมาณ 400-1,000 บาท เมื่อไปต่ออีกครั้งก็จะโดนค่าปรับดอกเบี้ยอีกเดือนละ 1% และถ้าหากปล่อยทิ้งไว้นานเกิน 3 ปี ทะเบียนรถจะถูกระงับการใข้งานและโดนโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

ขับรถไม่มีพ.ร.บ.เสียสิทธิ์อะไรบ้าง
หากคุณขับรถที่ไม่มี พ.ร.บ. เมื่อประสบอุบัติเหตุ จะไม่ได้รับการคุ้มครอง เพราะไม่ได้ทำ พ.ร.บ. ไว้ ในกรณีที่คู่กรณีเป็นฝ่ายผิด และมี พ.ร.บ. คุณจะสามารถเรียกร้องค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยในฐานะผู้ประสบภัยได้ แต่ก็ต้องรอให้ทราบผลการตัดสินถูกผิดก่อน ระหว่างที่ผลยังไม่ออก คุณก็จะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลต่าง ๆ เองไปก่อน
ในกรณีที่คุณเป็นฝ่ายผิด กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถเป็นมาไล่เก็บค่าเสียหายจากคุณ และบวกเงินเพิ่มอีก 20% พร้อมค่าปรับที่นำรถไม่มี พ.ร.บ. มาใช้เป็นเงินไม่เกิน 10,000 บาท จะเห็นว่าเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายที่ต้องเสีย หรือจะต้องถูกปรับ แนะนำให้เจ้าของรถต่อ พ.ร.บ. ทุก ๆ ปี เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองที่ต่อเนื่อง

ประกันจะคุ้มครองไหม หากขับรถไม่มี พ.ร.บ.
เมื่อขับรถไม่มีพ.ร.บ.แล้วเกิดอุบัติเหตุแต่ไม่มีคู่กรณีหรือผู้ประสบภัย จะไม่ได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.รถยนต์ และยังจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆ เองทั้งหมด แต่หากรถไม่มี พ.ร.บ. เมื่อประสบอุบัติเหตุ และมีบุคคลภายนอกหรือคู่กรณีบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต ทางคู่กรณีสามารถเบิกค่าเสียหายเบื้องต้นได้จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ โดยทางกองทุนฯ จะทำการชดเชยค่าเสียหายให้กับผู้ประสบภัยก่อน และจะไปไล่เก็บค่าเสียหายกับทางเจ้าของรถ ซึ่งจะบวกเงินเพิ่มจากเดิมอีก 20% รวมกับค่าปรับที่ไม่ทำหรือต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ และค่าปรับที่นำรถไม่มีพ.ร.บ. มาใช้งานเป็นเงินไม่เกิน 10,000 บาท
ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นและคุณเป็นฝ่ายถูก แต่รถที่ประสบภัยเป็นรถไม่มีพ.ร.บ. ก็สามารถที่จะเบิกค่าใช้จ่ายเบื้องต้นกับทางคู่กรณีได้ เช่น ค่ารักษาพยาบาลตามจริง ไม่เกิน 30,000 บาท หรือเงินชดเชยกรณีที่มีการเสียชีวิตและทุพพลภาพคนละ 35,000 บาท

ข้อยกเว้น หากขับรถไม่มีพ.ร.บ.
กรณีที่สามารถได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.รถยนต์ ในกรณีรถยนต์ที่ขับเป็นรถไม่มีพ.ร.บ. และเข้าข่ายดังต่อไปนี้
- ผู้ประสบภัยจากรถสามารถเรียกร้องค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยได้
- ผู้ประสบภัยจากรถที่ไม่มีประกันภัย พ.ร.บ.รถยนต์ และเจ้าของรถไม่ยอมจ่าย
- ผู้ประสบภัยจากรถที่ถูกยักยอก ฉ้อโกง กรรโชก ลักขโมย ชิงปล้น ที่ถูกแจ้งความเอาไว้แล้ว
- ผู้ประสบภัยจากรถที่ไม่มีคู่กรณีแสดงตนเป็นเจ้าของรถ และรถคันดังกล่าวไม่มีพ.ร.บ.
- ผู้ประสบภัยจากการชนแล้วหนี หรือไม่ทราบว่าความเสียหายที่เกิดขึ้น เกิดจากรถคันไหน
- ผู้ประสบภัยจากรถที่ได้รับการยกเว้นและไม่ได้จัดทำประกันภัย พ.ร.บ. เอาไว้
- บริษัทประกันภัยไม่ยอมจ่าย หรือจ่ายไม่เต็มจำนวน
เบิกค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยได้ แต่ต้องจ่ายเงินคืน
แม้ว่ารถที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นจะเป็นรถไม่มีพ.ร.บ. ทำให้ผู้ประสบภัยไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทประกันภัยได้ แต่ยังสามารถขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยได้ เพื่อเป็นการเยียวยา ฟื้นฟูผู้ประสบภัยจากรถให้สามารถได้รับการรักษาพยาบาลหรือการจัดงานศพได้ทันท่วงที แต่เมื่อกองทุนฯ จ่ายชดเชยแล้ว จะทำการเรียกเก็บเบี้ยคืนจากเงินที่จ่ายไปพร้อมเงินเพิ่ม 20% จากเจ้าของรถหรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัย

ค่าใช้จ่ายในการต่อ พ.ร.บ. รถจะแตกต่างกันไปตามประเภทของรถ
พ.ร.บ.รถแต่ละประเภท เช่น
- รถยนต์นั่งไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง) เบี้ยประกัน พ.ร.บ. = 645 บาท/ปี
- รถน้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน (รถกระบะ)เบี้ย พ.ร.บ. = 967 บาท/ปี
- รถยนต์ที่มีที่นั่งเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง (รถตู้) = 1,182 บาท/ปี
สรุป
พ.ร.บ. หรือ ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ ต้องการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยจากการใช้รถ โดยไม่สนใจว่าบุคคลนั้นจะเป็นฝ่ายผิด หรือถูก หากเกิดความเสียหายขึ้น ผู้เสียหายก็จะได้รับความคุ้มครองตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้
รถยนต์ต้องทำและต่ออายุประกัน พ.ร.บ.ทุกปี นอกจากนี้ รถประเภทอื่น ไม่ว่าจะเป็นรถมอเตอร์ไซค์ รถบรรทุก ต่างก็ต้องทำ พ.ร.บ. เช่นเดียวกัน ซึ่งอัตราเบี้ยประกันภาคบังคับ จะแตกต่างกันไปตามประเภทและขนาดของรถ
ขอบคุณรูปภาพและแหล่งที่มา : วิริยะประกันภัย
อ่านข่าวต่อ : หน้าแรก